โมฆกรรม
หมายความว่า
การทำนิติกรรมใดๆที่ผลของนิติกรรมที่ได้ทำขึ้นนั้นเสียเปล่า
ไม่มีผลผูกพันที่จะใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
การเสียเปล่าของนิติกรรมนั้นมีมาตั้งแต่เริ่มต้นของการทำนิติกรรมจึงถือได้ว่าผู้ที่ทำนิติกรรมที่เป็นโมฆะมิได้ทำนิติกรรมนั้นขึ้นเลย[1]
โมฆียกรรม
หมายความว่า
นิติกรรมซึ่งอาจถูกบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
ถ้ามิได้บอกล้างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นอันหมดสิทธิที่จะบอกล้าง
แต่เมื่อบอกล้างแล้วโมฆียกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ
คู่กรณีกลับสู่ฐานะเดิม
หรือถ้ามีการให้สัตยาบันยืนยันที่จะผูกผันตามโมฆียกรรมนั้นก็เท่ากับสละสิทธิในอันที่จะบอกล้างนิติกรรมที่ได้กระทำขึ้น[2]
ลักษณะของโมฆะกรรม
โมฆะกรรมนั้นมีลักษณะดังนี้
1 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันได้
คำว่า "สัตยาบัน"
เป็นศัพท์กฎหมาย
หมายความว่า
การแสดงเจตนารับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ
ให้มีผลสมบูรณ์
ใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่กรณีตลอดไปโมฆะกรรมไม่อาจมีการให้สัตยาบันได้
เพราะนิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นได้เสียเปล่ามาตั้งแต่เริ่มทำ
2
โมฆะกรรมนั้นผู้มีส่วนได้เสียคนใดจะกล่าวอ้างอิงขึ้นได้
ไม่จำเป็นต้องบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
บุคคลภายนอกคนใดก็ตามที่มีส่วนได้เสียในโมฆะกรรมนั้นย่อมอ้างได้ทั้งสิ้น
คำว่า " มีส่วนได้เสีย"
หมายความว่าบุคคลนั้นอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์
ถ้าหากนิติกรรมอันนั้นมีผลใช้บังคับกันได้หรือเรียกอีกอย่างว่าอาจเกิดสิทธิหรือหน้าที่ขึ้นมา
3 โมฆะกรรมนั้นจะกล่าวอ้างขึ้นเมื่อใดก็ได้ ไม่มีกำหนดระยะเวลา (ไม่มีอายุความ)
4 ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะทั้งหมด แต่ในกรณีที่พึงสันนิฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งคู่กรณีว่าคู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า คู่กรณีต้องการจะให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์เท่านั้น
5 เป็นโมฆะแต่ถ้าไปเข้าแบบนิติกรรมอื่นที่สมบูรณ์และเป็นที่สันนิษฐานว่าถ้าคู่กรณีรู้ว่าแม้นิติกรรมแบบที่ทำไม่สมบูรณ์แต่เข้าแบบอื่นที่สมบูรณ์ก็พอใจจะให้นิติกรรมสมบูรณ์ตามแบบหลังนั้น
ลักษณะของโมฆียกรรม
โมฆียกรรมมีลักษณะดังนี้
1 อาจบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้
การบอกล้างโมฆียกรรมหมายความว่าการแสดงเจตนาบอกเลิกหรือปฎิเสธนิติกรรมที่เป็นโมฆียะมิให้มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
และเมื่อบอกล้างแล้วถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะใช้ไม่ได้มาแต่เริ่มแรกที่ทำกัน
ส่วนการให้สัตยาบันหมายถึงการรับรองนิติกรรมว่าได้ใช้สมบูรณ์
2 ผู้มีสิทธิบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
ผู้ซึ้งจะบอกโมฆียะกรรมได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้
กล่าวคือ
ผู้ไร้ความสามารถหรือได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือพิทักษ์
หรือทายาทของบุคคลของผู้ไร้ความสามารถหรือผู้แสดงเจตนาโดยวิปริตเท่านั้น
คำว่าทายาทของบุคคลเช่นว่านั้น
ตามที่กฎหมายใช้นั้น
ไม่ได้หมายความรวมถึงทายาทของผู้จัดการแทนคือไม่รวมถึงทายาทของผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ด้วย
3.1 ระยะเวลาบอกล้าง
กฏหมายแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
คือ
3.1.1 กำหนดระยะเวลา
1 ปี
นับแต่รู้ว่าได้มีการทำนิติกรรมนั้น
กำหนดระยะเวลา 1
ปีนี้เป็นอายุความที่สั้น
คือรู้เมื่อใดก็ต้องบอกล้างภายใน
1 ปี มิฉะนั้นจะบอกล้างอีกมิได้
สำหรับตัวผู้ทำนิติกรรมกฎหมายยังกำหนดไว้อีกว่าเมื่อสามารถจะให้สัตยาบันได้เมื่อประสงค์จะบอกล้างก็ต้องบอกภายใน
1 ปี นับแต่วันนั้น
มิฉะนั้นก็สิ้นสิทธิจะบอกล้าง
3.1.2 กำหนดระยะเวลา
10 ปี
นับแต่นิติกรรมนั้นได้ทำลงเป็นกำหนดอายุความที่ยาว
แต่มิได้หมายความว่าจะใช้อายุความ
10 ปีตลอดไป หากแต่อายุความ
1 ปี
นับแต่รู้จะซ่อนอยู่ในกำหนดอายุความ
10 ปี
กล่าวคือแม้จะไม่มีโอกาสรู้เลยแต่เมื่อกำหนดอายุความล่วงเลยไปถึง
10 ปี นับแต่นิติกรรมได้ทำลงแล้ว
ก็ไม่มีทางจะบอกล้างไดีอีกเลย
3.2 ระยะเวลาให้สัตยาบัน
กฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้ซึ่งจะให้สัตยาบันได้ก็คือผู้ซึ่งบอกล้างได้
และระยะเวลาที่ให้สัตยาบันได้ต้องเป็นภายหลังจากมูลเหตุที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะนั้นได้สูญสิ้นไปแล้ว
กล่าวคือถ้าเป็นผู้เยาว์ก็ต้องพ้นจากสภาพการเป็นผู้เยาว์
ถ้าเป็นคนไร้ความสามารถก็ต้องจากสภาพการเป็นคนไร้ความสามารถเป็นต้น
แต่จะต้องให้สัตยาบันเมื่อใดนั้นกฎหมายมิได้กำหนด
ฉะนั้นจะให้เมื่อใดก็ได้แต่ถ้าไม่ได้ให้สัตยาบันและเมื่อพ้นกำหนดบอกล้างแล้ว
ก็ถือว่าได้ให้สัตยาบันแล้วโดยปริยาย
วิธีบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
1
โดยทั่วไปแล้วการบอกล้างหรือให้สัตยาบันนั้น
กระทำได้โดยการแสดงเจตนา
แต่กฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าต้องเป็นการแสดงเจตนาแบบใด
ฉะนั้นผู้ซึ่งจะบอกล้างหรือให้สัตยาบันจะแสดงเจตนาอย่างไรก็ได้
เช่นจะแสดงโดยกิริยาอาการ
หรือวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ทั้งสิ้น
จะโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้
แต่จะต้องบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งหรือผู้แทน
ซึ่งถ้ามีคัวแน่นอนต้องบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่บุคคลนั้นๆ
2 บางกรณี แม้ว่าจะไม่มีการให้สัตยาบันตามวิธีที่ได้กล่าวมาในข้อ 1 ก็ตาม แต่ได้มีการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหายกำหนดก็แสดงว่าได้ให้สัตยาบันแล้วเช่นกัน
ผลของการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
1 ผลของการบอกล้าง
มีดังนี้คือ
1.1 นิติกรรมใดเมื่อถูกบอกล้างแล้วถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก
กล่าวคือไม่มีผลบังคับมาแต่แรกถือเสมือนว่าไม่มีการทำนิติกรรมเลยทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม
1.2 บุคคลซึ่งควรจะรู้ถึงสาเหตุโมฆียะนั้นเมื่อมีการบอกล้างแล้วถือว่าบุคคลนั้นได้รู้แล้วว่าการนั้นไม่สมบูรณ์
2 ผลของการให้สัตยาบัน
โมฆียะกรรมใดเมื่อได้ให้สัตยาบันแล้วถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่แรกเริ่ม[3]
โมฆะกรรม และ โมฆียะกรรม
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 1 หลักทั่วไป
บรรพ 1 หลักทั่วไป
ลักษณะ 4 นิติกรรม
หมวด 3 โมฆะกรรมและโมฆียกรรม
มาตรา 172-181
* ผลของโมฆะกรรม,การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม
วรรค 2
มาตรา
172
โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มี
ส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม
ให้นำบทบัญญัติ
ว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ
* โมฆะกรรมอาจแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกได้
มาตรา
173
ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะนิติกรรม
นั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น
เว้นแต่จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์
แห่งกรณีว่า
คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออกจาก
ส่วนที่เป็นโมฆะได้
* โมฆะกรรมอาจสมบูรณ์เป็นนิติกรรมอย่างอื่น
มาตรา
174
การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่น
ซึ่งไม่เป็นโมฆะ
ให้ถือตามนิติกรรมซึ่งไม่เป็นโมฆะ
ถ้าสันนิษฐานได้ โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า
หากคู่กรณีได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะแล้ว
ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น
* บุคคลที่มีสิทธิบอกล้าง
มาตรา
175
โมฆียะกรรมนั้น
บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
(1)ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
แต่
ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอม
ของผู้แทน โดยชอบธรรม
(2)บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ ความสามารถ
เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือ
คนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว
หรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
แล้วแต่กรณี
แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็น
คนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
(3)บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด
หรือถูกกลฉ้อฉล หรือ ถูกข่มขู่
(4)บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม
มาตรา 30
ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว
ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตาย
ก่อนมีการ บอกล้างโมฆียะกรรม
ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้าง
โมฆียะกรรมนั้นได้
มาตรา
176
โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว
ให้ถือว่าเป็นโมฆะ มาแต่เริ่มแรก
และให้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม
ถ้าเป็นการพ้น วิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้
ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ
เมื่อบอกล้าง
แล้วให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะ
นับแต่วันที่ได้รู้หรือ
ควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ
ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม
วรรคหนึ่งเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม
* ผู้ที่มีสิทธิให้สัตยาบัน
มาตรา
177
ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา
๑๗๕
ผู้หนึ่งผู้ใด
ได้ให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม
ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก
แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก
* วิธีการบอกล้างหรือให้สัตยาบันโมฆียะกรรม
มาตรา
178
การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม
ย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน
* หลักเกณฑ์ของการให้สัตยาบันโดยสมบูรณ์
มาตรา
179
การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น
จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถหรือบุคคลวิกลจริต
ผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา
๓๐จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้ต่อเมื่อได้รู้เห็นซึ่งโมฆียกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ
หรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล
แล้วแต่กรณี
ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ
จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้นับแต่เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย
เว้นแต่สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมของผู้ตายนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ
ถ้าการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมกระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์
* การให้สัตยาบันโดยปริยาย
มาตรา
180
ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ตามมาตรา
๑๗๙
ถ้ามีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียะกรรมโดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา
๑๗๕
ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใดให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน
(๑)
ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(๒)
ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว
(๓)
ได้มีการแปลงหนี้ใหม่
(๔)
ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น
(๕)
ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(๖)ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน
* กำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรม
มาตรา
181
โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้
หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น[4]
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาฎีกาที่
3072/2536
โจทย์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท
อ้างว่าโจทย์ทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก
ส.
ผู้ล้มละลาย
ต่อมาบิดาโจทย์ทั้งสี่ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทย์ทั้งสี่
จำเลยให้การต่อสู้ว่าบิดาซื้อที่ดินพิพาทจาก
ส.
ในขณะที่
ส.
เป็นบุคคลล้มละลาย
นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะ
โจทย์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจฟ้อง
ดังนี้จำเลยจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์
หากที่นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง
ส.
กับบิดาโจทย์ทั้งสี่เป็นโมฆะ
ชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้
คำพิพากษาฎีกาที่
7378/2542
สัญญากู้ยืมเงินตกลงอัตราดอกเบี้ยร้อยละ
18
ต่อปี
เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ
ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญานั้น
แต่หนี้เงินกู้ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อเป็นหนี้สิน
ผู้กู้จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ
7.5
ต่อปี
นับแต่วันที่ผิดนัดตาม
ป.พ.พ.
ม.224
คำพิพากษาฎีกาที่
378/2524
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่า
(ส.ค.1)
ซึ่งได้ทำหนังสือ
แต่ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาประสงค์จะทำหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาฎีกาที่
2398/2535
นิติกรรมที่จำเลยโอนที่ดินพิพากตีใช้หนี้เงินยืมให้โจทย์เกิดจากกลฉ้อฉลของโจทย์เป็นโมฆียะ
สามีจำเลยไม่ใช่เป็นผู้ที่ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริตหรือเป็นบุคคลที่กฎหมายให้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมได้
คำพิพากษาฎีกาที่
1950/2518
ม.
เจ้าของที่ดินฟ้องจำเลยที่
1
ว่าจำเลยที่
1
ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินไปขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่
1
ออกจากโฉนดที่ดิน
ศาลพิพากษาให้ตามขอ คดีถึงที่สุด
ระหว่างที่ยังไม่มีการเพิกถอนชื่อ
จำเลยที่ 1
โอนขายที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่
2
ดังนี้ถือว่าก่อนการโอนขายของจำเลยที่
1
นิติกรรมโอนที่ดินระหว่าง
ม.กับจำเลยที่
1
ได้มีการบอกล้างแล้วผลจึงเท่ากับจำเลยที่
1
ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเลย
ที่ดินยังเป็นของ ม.
อยู่ตามเดิม
จำเลยที่ 2
จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์
และยกเหตุการรับโอน
โดยเรียกค่าตอบแทนและโดยสุจริตมาใช้ยันโจทย์ซึ่งเป็นทายาทของ
ม.
หาได้ไม่[5]
คำพิพากษาฎีกาที่
819/2500
คู่กรณีได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่อำเภอ
ต่อมาคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไปร้องต่ออำเภอว่าที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปนั้นเป็นเพราะตนถูกกลฉ้อฉล
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่คู่กรณีในการทำนิติกรรมฝ่านหนึ่งไปร้องขอต่ออำเภอเช่นนั้นไม่ใช่เป็นการแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะไม่ได้บอกล้างแก่คู่สัญญาประนีประนอมยอมความอีกฝ่ายหนึ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นยังสมบูรณ์อยู่
คำพิพากษาฎีกาที่
297/2515
สัญญากู้ยืมเงินที่เกิดจากการหลอกลวงหรือข่มขู่ตกเป็นโมฆียะ
แต่เมื่อผู้ให้กู้ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ที่เป็นโมฆียะ
ผู้กู้ก็ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ให้กู้ต่อหน้าศาล
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความช่นนั้น
เป็นการให้สัตยาบันแก่นิติกรรมสัญญาซึ่งเป็นโมฆียะโดยปริยาย
คำพิพากษาฎีกาที่
478/2494
โจทย์ฟ้องคดีเพื่อบอกล้างโมฆียะกรรมที่เกิดจากกลฉ้อฉลเทื่อพ้น
1
ปี
นับแต่เวลาที่โจทย์อาจจะให้สัตยาบันได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
โจทย์บอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาบอกล้างตามมาตรา
143
เดิม
(ปัจจุบันคือมาตรา
181)
ให้ยกฟ้อง[6]
_______________________________________________________
[1] มานิตย์ จุมปา, ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย,พิมพ์ครั้งที่ 9 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552),หน้า 272
[2] เรื่องเดียวกัน,
หน้า 275
[3] ดร.
ประวีณวัชร์ อิศรางกูร
ณ อยุธยา, คำอธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1 ว่าด้วย บุคคล
ทรัพย์ นิติกรรม สัญญา หนี้
ละเมิด,พิมพ์ครั้งที่
3 (กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์สูตรไพศาล,2548),หน้า
95-99
[4] รวบรวมโดย
รองศาสตาจารย์ พรชัย สุนทรพันธุ์,
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์,(กรุงเทพฯ
: พิมพ์ บริษัท
ธนธัชการพิมพ์ จำกัด,2551),หน้า
61-64
[5] สมศักดิ์
เอี่ยมพลับใหญ่,
เกร็ดกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ปีการศึกษา 2549 เล่ม
1,(กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์บัณฑิตอังษร,2549),หน้า
43-47 และ 51
[6] อัครวิทย์
สุมาวงค์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่า ด้วย นิติกรรม สัญญา,พิมพ์ครั้งที่
6(กรุงเทพฯ : พิมพ์
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภา,2553),หน้า
158-159 และ 169
ดร.
ประวีณวัชร์ อิศรางกูร
ณ อยุธยา. คำอธิบายหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1 ว่าด้วย บุคคล
ทรัพย์ นิติกรรม สัญญา หนี้
ละเมิด.
พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์สูตรไพศาล,2548.
มานิตย์ จุมปา. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552.
รวบรวมโดย รองศาสตาจารย์ พรชัย สุนทรพันธุ์. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด,2551.
สมศักดิ์
เอี่ยมพลับใหญ่.
เกร็ดกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ปีการศึกษา 2549 เล่ม
1. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์บัณฑิตอังษร,2549.
อัครวิทย์
สุมาวงค์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่า ด้วย นิติกรรม สัญญา.
พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ : พิมพ์
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภา,2553
***************************************************************